เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 5.สามัญญวรรค
5. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เหมือนกัน1
[91-116] โพชฌาอุบาสิกา สิริมาอุบาสิกา ปทุมาอุบาสิกา สุธัมมา
อุบาสิกา มนุชาอุบาสิกา อุตตราอุบาสิกา มุตตาอุบาสิกา เขมาอุบาสิกา
รุจีอุบาสิกา จุนทีราชกุมารี พิมพีอุบาสิกา สุมนาราชกุมารี มัลลิกาเทวี
ติสสาอุบาสิกา ติสสมาตาอุบาสิกา โสณาอุบาสิกา โสณมาตาอุบาสิกา
กาณาอุบาสิกา กาณมาตาอุบาสิกา อุตตรานันทมาตาอุบาสิกา วิสาขามิคาร-
มาตาอุบาสิกา ขุชชุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา สุปวาสาโกฬิยธิดา
สุปปิยาอุบาสิกา นกุลมาตาคหปตานี [1-26]
สามัญญวรรคที่ 5 จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงวรรคที่ว่าด้วยองค์อุโบสถ 8 เหมือนกัน (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/91/284) ดูความเต็มของแต่ละสูตรเทียบ
ในอัฏฐกนิบาต ข้อ 43 (วิสาขาสูตร) หน้า 309-312 และข้อ 45 (โพชฌาสูตร) หน้า 314-317
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :421 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[117] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม 8 ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
(ความกำหนัด)
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[118] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม 8 ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (1)
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดใหญ่ มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
3. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
4. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
5. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
6. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้
มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :422 }